คำแนะนำก่อนและหลังการรับวัคซีนโควิด-19

คำแนะนำ ก่อนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างน้อย 2 วัน ก่อนการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้งดออกกำลังกายหนัก หรือยกของหนัก และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ วันที่ฉีดควรดื่มน้ำอย่างน้อย 500-1,000 ซีซี งดชา กาแฟ หรือของที่มีคาเฟอีน รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ควรฉีดแขนข้างที่ไม่ค่อยถนัด และหลังฉีด 2 วัน งดใช้แขนข้างนั้น อย่าเกร็งหรือยกของหนัก หากเคยได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มาก่อน สามารถฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ แต่ควรฉีดหลังจากฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่แล้วอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ ถ้ารับประทานยาละลายลิ่มเลือดอยู่ สามารถรับประทานได้ตามปกติ และเมื่อฉีดยาแล้วให้กดตรงตำแหน่งที่ฉีดต่ออีก 1 นาที กรณีที่ไม่เคยมีประวัติการรักษาที่โรงพยาบาลที่จะไปรับบริการฉีดวัคซีนมาก่อน และมีโรคประจำตัว ควรนำประวัติการรักษามาด้วย สิ่งที่ต้องแจ้งแพทย์ก่อนฉีดวัคซีน มีประวัติการแพ้ยา วัคซีน อาหาร สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ  มีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียสในวันที่นัดฉีดวัคซีน มีรอยช้ำ หรือจ้ำเลือด หรือเลือดออกผิดปกติ หรือใช้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดอยู่ เช่น Read more…

ป่วยระดับไหน ควรกักตัวที่บ้าน

Home Isolation หรือ การกักตัวที่บ้าน คือ อีกหนึ่งวิธีในการดูแลตัวเอง สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มสีเขียว ที่ไม่มีอาการแสดง หรือแสดงอาการเพียงเล็กน้อย สำหรับผู้ป่วยที่แพทย์ประเมินแล้วว่าสามารถรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้ ก็สามารถปฏิบัติตนได้ง่าย ๆ ดังนี้ ห้ามออกจากที่พักและปฏิเสธผู้ใดมาเยี่ยมที่บ้าน คำแนะนำจากแพทย์จุฬาฯ เมื่อเป็น “ผู้ป่วยสีเขียว” รักษาตัวที่บ้าน ผศ.นพ. โอภาส พุทธเจริญ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวและดูแลตัวเอง เมื่อเป็นผู้ป่วยโรคโควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่เข้าเกณฑ์รักษาตัวที่บ้าน รวมถึงผู้ป่วยที่อาการหนักแต่ยังต้องรอเตียงอยู่ที่บ้าน การให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 รักษาตัวที่บ้านเป็นระบบที่ผู้ป่วยที่มีอาการไม่หนักหรือผู้ป่วยในระดับ “สีเขียว”ต้องเข้าสู่ระบบการรักษาของโรงพยาบาลแห่งใดแห่งหนึ่ง และต้องมีการประเมินก่อนกักตัวที่บ้านว่าไม่มีอาการทางปอด แต่หากในกรณีที่อาการรุนแรงขึ้นสามารถติดต่อกลับไปที่โรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ประเมินการรับตัวเข้ารักษาในโรงพยาบาล กลุ่มอาการหนักที่ยังรอเตียง นอนคว่ำช่วยให้แลกเปลี่ยนก๊าซดีขึ้น ถ้าผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรงดี อายุไม่มาก การกักตัวที่บ้านถือว่าค่อนข้างปลอดภัย แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการแย่ลงแต่ยังหาเตียงไม่ได้ จำเป็นที่ต้องรักษาตัวที่บ้านระหว่างรอเตียง กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องระมัดระวัง แนะนำให้ดูอาการอย่างใกล้ชิดและวัดออกซิเจนวันละ 1-2 ครั้ง หากมีอาการเพิ่มขึ้น เช่น เหนื่อย ให้เตรียมออกซิเจนไว้น่าจะสำคัญที่สุด และการนอนคว่ำ (ศัพท์ทางการแพทย์เรียกการทำ prone) Read more…

เมื่อเป็นโควิด..ควรทำยังไง ?

เมื่อทราบผลตรวจว่า… ติดเชื้อ #โควิด19 ควรทำอย่างไร? เตรียมเอกสารสำคัญ เช่น บัตรประชาชน เอกสารยืนยันผลตรวจโควิด โทร 1330, 1668, 1669 เพื่อแจ้งเรื่องเข้ารับการรักษา แจ้งรายละเอียดและเบอร์โทรศัพท์ของตนให้หน่วยงานที่รับเรื่อง งดออกจากที่พักหรือเดินทางข้ามจังหวัด (ฝ่าฝืนมีโทษผิดพ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 มาตรา 34) หากมีไข้ให้รับประทานยาพาราเซตามอลและเช็ดตัวเพื่อลดไข้ สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาและแยกของใช้ส่วนตัว อาการของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (ระลอกใหม่) ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 จะแสดงอาการตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อยไปถึงระดับความรุนแรงมาก มีไข้ (ไข้สูงติดต่อกัน 48 ชั่วโมง) ไอแห้ง ไอมีเสมหะ ไม่มีเรี่ยวแรง หอบเหนื่อย หายใจลำบาก เจ็บคอ ปวดหัว จมูกไม่ได้กลิ่น อ่อนเพลีย 11 ข้อปฏิบัติ ขณะรอรถมารับไป รพ. ทั้งนี้ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แนะ 11 วิธีดูแลตัวเองอยู่บ้าน เมื่อติดโควิด 19 ก่อนเข้า รพ. Read more…

ประเมินอาการเบื้องต้น เมื่อรู้ว่าติดโควิด-19

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้แบ่งระดับอาการผู้ป่วยโควิด ตามระดับอาการป่วยออกเป็นสีเขียว สีเหลือง และสีแดง เพื่อการดูแลและรักษาอย่างเป็นระบบ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ *** สีเขียว คือ ผู้ป่วยอาการไม่มาก หรือไม่มีอาการ หรืออาการน้อยๆ เช่น มีไข้ ไอ น้ำมูก ตาแดง ผื่นขึ้น ไม่มีโรคร่วม พักรักษาที่โรงพยาบาลสนาม หรือฮอสพิเทล (Hospitel) *** สีเหลือง คือ ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว มีปัจจัยเสี่ยงอาการรุนแรงหรือโรคร่วม เช่น อายุมากกว่า 60 ปี โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรังอื่นๆ ไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่คุมไม่ได้ ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม ตับแข็ง Read more…

สถานที่ตรวจโควิด-19 กรุงเทพ

ช่วงนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทวีความรุนแรงขึ้น หากคุณแม่บ้านอยู่ในเขตพื้นที่เสี่ยงหรือเป็นกลุ่มผู้เสี่ยงสูง สามารถเข้ารับการตรวจโควิดได้ฟรีที่อาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) รองรับได้ 2,000 คนต่อวัน ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 นี้นะคะ หรือถ้าหากคุณแม่บ้านต้องการไปตรวจเองผ่านสถานพยาบาลทั่วกรุงเทพ สามารถดูรายละเอียดข้อมูลและค่าใช้จ่ายได้ที่ https://hdmall.co.th/c/18-covid-19-testing-places-bkk